SpongeBob SquarePants

Sunday, December 25, 2016

คำสอนของพ่อ

      

เมื่อสำนักพระราชวัง ได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 เวลา 19.00 น. ถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตแล้ว ณ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสีย โศกเศร้า และความวิปโยคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศที่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง





ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ทรงครองราชย์ 70 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงมีพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสกับปวงชนชาวไทย นานัปประการ ในการให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม และทรงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเราปวงชนชาวไทยทั้งประเทศในทุก ๆ ด้าน วันนี้ “rabbit daily”ขอน้อมนำพระบรมราโชวาทในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นคนดีและการใช้ชีวิตในสังคมมาฝากกัน…


1. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ





ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496


2. คนดี





ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512


3. หนังสือเป็นออมสิน





หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้าย ๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25พฤศจิกายน 2514


4. ความสามัคคี





คือการเห็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล 15 มกราคม 2519


5. อนาคตทำนายได้





ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผลและผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีกคือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้แล้วการทำงานของท่านก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่น ๆ ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเองคนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกันเพราะอนาคตก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519


6. ความรู้ตน





เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่าง ๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน

พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521


7. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้





คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมาก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521


8. ความดี





การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัวแต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลังในการสร้างเสริมและสะสมความดี

พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525


9. การทำงาน





เมื่อมีโอกาสและมีงานทำควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวางคนที่ทำงานได้จริง ๆ นั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใดย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริตก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530


10. คุณธรรมของคน





ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์ ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริตและรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมคุณธรรมสี่ประการนี้ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามจะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป

พระบรมราโชวาท ในพิธีบวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535

Sunday, July 31, 2016

mother's Day





วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่ 

ประวัติวันแม่แห่งชาติ 


ประวัติวันแม่แห่งชาติ แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


สัญลักษณ์วันแม่

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย



......................................................................
......................................................................

Thursday, June 23, 2016

คณะบริหารธุระกิจ/คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

คณะบริหารธุรกิจ / คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

 รายละเอียดของคณะ

คณะบริหารธุรกิจหรือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  เป็นการศึกษาลักษณะธุรกิจในทุกๆ ด้าน เช่น  การบริหารงานทั่วไป การจัดการ  การเงิน  การบัญชี  การตลาด  การบริหารทรัพยากรมนุษย์  ธุรกิจประกันภัย  บัณฑิตที่ศึกษาทางด้านนี้จะมีความสามารถในการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์  วางแผน  และตัดสินใจ  โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการรวบรวม  และค้นคว้าหาข้อมูล  โดยเป็นการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่มีเรื่องของตัวเลข  และทักษะด้านคณิตศาสตร์เข้ามาประกอบในการเรียนและการทำงาน
 สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
สาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง
สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
สาขาวิชาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สาขาวิชาสถิติ
สาขาวิชาการประกันภัย
สาขาวิชาการจัดการการผลิต
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีความสนใจในวิชาที่จะศึกษาอย่างจริงจัง  มีความถนัดด้านคณิตศาสตร์  คิดเลขเก่ง  ช่างสังเกต  ชอบการวิเคราะห์แบบมีเหตุผล  สนใจด้านเทคโนโลยีต่างๆ  มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลได้ดี  แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและหาทางออกได้อย่างเหมาะสมและคล่องแคล่ว  สนใจความคืบหน้าของข่าวสารตลอดเวลา  โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ  ธุรกิจต่างๆและตัวเลขทางการตลาด
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
คนที่จบการศึกษาทางด้านนี้  สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานราชการ  หรือบริษัทเอกชนได้หลากหลาย   ส่วนใหญ่จะทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานเอกชนที่มีความต้องการแรงงานสูง  สามารถทำงานเป็นนักบัญชี  งานทางด้านบริหารทรัพยากรบุคคล งานในบริษัทประกันภัย  นักการตลาด  นักการธนาคาร  นักพัฒนาข้อมูล  นักวิจัย  ทำงานในตลาดหลักทรัพย์  รวมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัวได้  หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศได้ในหลายสาขา  
 สถาบันที่เปิดสอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
บัญชีบัณฑิต
บริหารธุรกิจบัณฑิต
สถิติศาสตรบัณฑิต
บริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)

คณะบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการเงิน
สาขาวิชาการจัดการ
สาขาวิชาการจัดการการผลิต
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาบัญชี

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  (วิทยาเขตศรีราชา)

คณะวิทยาการจัดการ
การจัดการธุรกิจ
การเงินและการบัญชี
อุตสาหกรรมบริการ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร)

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
สาขาวิชาการเงินและการบัญชี
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

บริหารธุรกิจบัณฑิต 
บัญชีบัณฑิต

วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล

บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการบริการนานาชาติ)
บริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ)
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน)
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
บริหารธุรกิจบัณฑิต (ระบบสารสนเทศ)


มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการ
สาขาวิชาการเงิน
สาขาวิชาการจัดการการโรงแรม
สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 
  สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
  สาขาวิชาการตลาด
  สาขาวิชาการท่องเที่ยว
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 
 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) 

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คณะการจัดการ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
  สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ
  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน
  สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
 สาขาวิชาการบัญชี


มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะการบัญชีและการจัดการ
สาขาการจัดการ
สาขาการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาการตลาด
สาขากาจัดการประกอบการ
สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สาขาบริหารการเงิน
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
สาขาการบัญชี


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คณะบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการเงิน
สาขาวิชาการจัดการ 
สาขาวิชาการตลาด 
สาขาวิชาการประเมินราคาทรัพย์สิน 
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 
สาขาวิชาระบบสารสนเทศ 
สาขาวิชาการบัญชี 
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

สาขาการตลาด
สาขาการบัญชี
สาขาการจัดการทั่วไป
สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
สาขาเศรษฐศาสตร์
สาขาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์-คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คณะบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการบัญชีทั่วไป
สาขาวิชาการบัญชีการเงิน
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการตลาด-การบริหารการตลาด
สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-พัฒนาซอร์ฟแวร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-การจัดการระบบสารสนเทศ
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน)
สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
สาขาการบัญชี
สาขาการท่องเที่ยว
สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
สาขาการจัดการ-การจัดการทั่วไป
สาขาการตลาด
สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ
สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-การจัดการระบบคอมพิวเตอร์
สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-การพัฒนาระบบซอฟต์แวร์


มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คณะบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการเงิน
สาขาวิชาบัญชี
สาขาวิชาการจัดการ
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ



มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตหาดใหญ่)

คณะวิทยาการจัดการ
สาขาบริหารธุรกิจ
สาขาบัญชี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี)

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจและวิสาหกิจ 
สาขาวิชาภาษาการสื่อสารและธุรกิจ    
สาขาวิชาพัฒนาธุรกิจ  
สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ   
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว   
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 

                         ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/guidance_after_m6.php?cms_category_id=124&cms_id=7410